ทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมก่อสร้างในไทย
ธุรกิจงานก่อสร้าง เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยมาก ช่วยในการพัฒนาประเทศในหลายๆด้าน เช่น การสร้างที่อยู่อาศัย โรงงาน ถนน สะพาน เป็นต้น และมีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น อีกทั้งในประเทศจีน และประเทศอินเดียได้ให้ความสำคัญกับการยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้าง รวมทั้งในบางประเทศมีการจัดตั้งหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบด้านอุตสาหกรรมก่อสร้างโดยเฉพาะ และในประเทศที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ยังใช้อุตสาหกรรมก่อสร้างในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้เดินไปข้างหน้า
ประเทศไทยมีศักยภาพด้านงานก่อสร้างแบบครบวงจรเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆในอาเซียน เพราะ มีการแปรรูปวัตถุดิบในการผลิตวัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบสถาปัตยกรรม การติดตั้งระบบควบคุมสมัยใหม่ และมีความเชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งอุตสาหกรรมของตกแต่ง เช่น อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ายังได้รับความนิยม นอกจากนี้อุตสาหกรรมก่อสร้างของไทยยังได้ไปลงทุนในต่างประเทศ เช่น ในประเทศดูไบ ประเทศอินเดีย ประเทศจีน รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมการก่อสร้างของไทยยังมีโอกาสเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดมากขึ้น ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆฝ่ายด้วย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจไปในทิศทางเดียวกัน
ที่ผ่านมาแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้าง ได้กระจัดกระจายออกไปในหน่วยงานต่างๆ มาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมก็แตกต่างกันออกไป จึงไม่สามารถปฏิเสธไม่ได้ว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศมาโดยตลอด ถึงแม้รัฐจะให้ความสำคัญน้อยกว่าอุตสาหกรรมด้านอื่นๆก็ตาม จะเห็นได้จากที่ไม่มีหน่วยงานใดให้การสนับสนุนทางด้านนี้โดยตรง ทั้งๆที่อุตสาหกรรมต่างๆมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจ และมีโอกาสขยายตัวเรื่อยๆ ทางรัฐจึงควรผลักดันอุตสาหกรรมก่อสร้างให้มีความน่าเชื่อถือ และรัฐควรให้การช่วยเหลือด้านเงินทุนสำรองทั้งในประเทศและนอกประเทศ ที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง
ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย จะมีโอกาสเติบโต ขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ เนื่องจากเกิดการเก็งกำไรของอสังหาริมทรัพย์ และเกิดจากปัญหาทางการเงินในอดีต จึงทำให้อุตสาหกรรมไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐ และสถาบันทางการเงินอย่างที่ควรจะเป็น